สำหรับผู้ที่เริ่มต้นศึกษาโซล่าเซลล์ คงจะมึนงงกับอุปกรณ์ต่างๆที่อยู่ในระบบโซล่าเซลล์ไม่มากก็น้อย
จริงๆแล้ว มันไม่ซับซ้อนอย่างที่คิดกันครับ วันนี้ผมจะมาแชร์ความรู้แบ่งการมองระบบโซล่าเซลล์ให้ง่ายขึ้นครับ
ให้เราแบ่งระบบโซล่าเซลล์เป็น 3 ภาคย่อยๆ ได้แก่
1.) บ้่าน หมายถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านที่เราต้องใช้งานต่อวัน
2.) โซล่าเซลล์ หมายถึงแผงโซล่าเซลล์ทั้งหมดที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าได้ปริมาณไฟฟ้าต่อวัน
3.) แบตเตอรี่ หมายถึงแหล่งเก็บพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซล่าเซลล์
ตัวอย่าง ก.
ถ้าบ้านเราต้องใช้ไฟฟ้าจำนวน 100 หน่วยต่อวัน ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ผลิตได้ 100หน่วยต่อวัน และติดตั้งแบตเตอรี่เก็บไฟฟ้าได้ 100 หน่วยต่อวัน
ใน 1 วันเราจะใช้ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซล่าเซลล์ 100 หน่วยพอดี และมีไฟฟ้าเหลือในแบตเตอรี่ 100 หน่วย
ถ้าวันวันไหนแสงแดดเกิดอ่อนลงแผงโซล่าเซลล์ผลิตไฟฟ้าได้ 50 หน่วย ก็เท่ากับว่าเราจะใช้ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผง 50 หน่วย และจากแบตเตอรี่ 50 หน่วย เหลือไฟฟ้าในแบตเตอรี่อีก 50 หน่วย
ดังนั้นเมื่อเริ่มวันใหม่ แบตเตอรี่จะมีปริมาณไฟฟ้าเพียงแค่ 50 หน่วยเท่านั้น ถ้าวันนี้เราใช้ไฟฟ้าเพียงแค่ 50 หน่วยและแผงผลิตได้ 100 หน่วย แบตเตอรี่ก็จะกลับมากเก็บไฟฟ้าเต็ม 100 หน่วยได้เหมือนเดิม
จริงๆแล้วมีรายละเอี่ยดเรื่องการสูญเสียอื่่นๆในระบบอีกหลายส่วน แต่ตัวอย่างจะแสดงตัวเลขกลมๆเพื่อให้เห็นภาพได้ง่ายขึ้น
จะสังเกตได้ว่าตัวแปรที่ไม่แน่นอนคือแสงแดดที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า ดังนั้นเราจึงต้องเลือกขนาดของแผงโซล่าเซลล์และแบตเตอรี่ให้เหมาะสมตามความจำเป็นในการใช้งาน
โซล่าเซลล์ไม่ยากอย่างที่คิดใช่ไหมครับ