Category Archives: โหลด

โซล่าปั๊ม2

ระยะรวมของหัวน้ำ(Total Dynamic Head – TDH)

หัวน้ำวัดโดยใช้หน่วย ฟุต(feet), เมตร(meter) หรือ พีเอสไอ(psi) โดยวัดเป็นระยะทางเริ่มจากแหล่งน้ำ(บ่อน้ำ, คลอง, แม่น้ำ)ที่ตัวปั๊มจะทำการผลักดันน้ำไปจนถึงแหล่งเก็บน้ำ(แทงค์น้ำ, ถังน้ำ) ในเรื่องของน้ำ ระยะทางจะมีความสัมพันธ์กับแรงดัน กล่าวคือ น้ำที่มีความสูง 2.31 ฟุตหรือ 0.703 เมตรจะมีความดันที่ฐานน้ำเท่ากับ 1 พีเอสไอ(psi) ดังนั้นการที่แทงค์น้ำอยู่สูงไปจากแหล่งน้ำมาก ตัวปั๊มจะต้องมีกำลังที่จะผลักดันน้ำไปเก็บยังแทงค์น้ำมากยิ่งขึ้น

TDH_pumping1

ระยะรวมของหัวน้ำจะเท่ากับผลรวมระหว่าง ความสูงของหัวน้ำในสภาวะปกติรวมกับความสูงของหัวน้ำในขณะที่ปั๊มทำงาน โดยความสูงของหัวน้ำในสภาวะปกติ(Static head) สามารถวัดได้จากผิวของแหล่งน้ำขณะที่ปั๊มน้ำยังไม่ได้ทำงานจนถึงแทงค์น้ำ ส่วนความสูงของหัวน้ำในขณะที่ปั๊มทำงาน(Dynamic head) คือผลรวมของผิวแหล่งน้ำที่ลดต่ำลงบวกกับค่าการสูญเสียที่เกิดจากท่อส่งน้ำ

แบตเตอรี่กับโซล่าปั๊ม

มีอยู่หลายเหตุผลที่ทำให้การใช้แบตเตอรี่เชื่อมต่อกับโซล่าปั๊มนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำ เหตุผลเหล่านั้นได้แก่

  • การใช้แบตเตอรี่เชื่อมต่อในระบบโซล่าปั๊มจะทำให้ประสิทธิภาพของกำลังไฟฟ้าที่จะไปจ่ายให้กับตัวปั๊มนั้นมีค่าน้อยลงเมื่อเทียบกับการนำโซล่าปั๊มต่อกับแผงโซล่าเซลล์โดยตรง เพราะการต่อกับแบตเตอรี่จะทำให้ค่าแรงดันไฟฟ้าของตัวปั๊มลดลงไปจึงทำให้ความเร็วและอัตราการไหลลดลงตามไปด้วย
  • การใช้แบตเตอรี่เชื่อมต่อกับระบบโซล่าปั๊ม จะทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโดยใช่เหตุ เพราะจะต้องซื้ออุปกรณ์อื่นๆในระบบเพิ่มเติมเช่น เครื่องควบคุมการชาร์จ สายไฟฟ้า และอุปกรณ์อื่นๆเป็นต้น
  • แบตเตอรี่ต้องการการบำรุงดูแลรักษา หมั่นตรวจสอบอยู่เสมอทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมมากขึ้น
  • แบตเตอรี่มีอายุการใช้งานที่สั้นถ้าเกิดมีการชาร์จและการใช้งานที่ไม่ถูกต้อง ยิ่งสถานที่ ที่จะนำไปติดตั้งมีความร้อนสูงโอกาสที่แบตเตอรี่จะมีอายุการใช้งานที่สั้นลงมีความเป็นไปได้สูง

ดังนั้นควรต่อแผงโซล่าเซลล์เข้ากับตัวโซล่าปั๊มโดยตรง โดยต้องออกแบบระบบให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับการใช้งาน จะทำให้ระบบสามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ได้อย่างเพียงพอ เพียงแค่การให้ปั๊มทำงานในขณะที่มีแสงอาทิตย์เท่านั้น ถ้าคิดในแง่ของการแปรเปลี่ยนพลังงาน ก็เป็นการทำให้ระบบเก็บกักน้ำไว้ในแทงค์ แทนที่การเก็บพลังงานไว้ในแบตเตอรี่แล้วเอาพลังงานจากแบตเตอรี่ไปขับปั๊มเพื่อเก็บกักน้ำอีกทีหนึ่งซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองการแปรเปลี่ยนพลังงานซ้ำไปมาโดยใช่เหตุ

โซล่าปั๊ม1

โซล่าปั๊ม(Solar Pump)

ส่วนใหญ่แล้วปั๊มน้ำที่ใช้งานกับระบบโซล่าเซลล์จะแบ่งเป็น 2 ชนิดได้แก่ ปั๊มที่มีการแทนที่ของของไหล(Positive Displacement Pump) กับ ปั๊มแรงเหวี่ยงหนีศูนย์(Centrifugal Pump) และปั๊มสองชนิดนี้สามารถแยกย่อยได้อีกสองประเภทคือ แบบดูดบนผิวน้ำ(surface mount) กับแบบจุ่ม(Submersible) โดยแหล่งน้ำที่ใช้ของท่านสามารถเป็นแบบบ่อน้ำตื้นๆหรือเป็นแบบบ่อลึกก็ได้ เพียงแต่เลือกประเภทของปั๊มน้ำให้เหมาะสม ถ้าเป็นบ่อน้ำตื้นควรเลือกปั๊มแบบดูดบนผิวน้ำ แต่ถ้าเป็นบ่อลึกควรเลือกปั๊มที่เป็นแบบจุ่ม ส่วนการเลือกชนิดของปั๊มน้ำว่าจะใช้ปั๊มที่มีการแทนที่ของของไหล หรือ ปั๊มแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ จะต้องขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้น้ำต่อวันและระยะรวมของหัวน้ำ(TDH)

positive displacement pump1

รูปที่1 ปั๊มที่มีการแทนที่ของของไหล

Centrifugal_Pump1

รูปที่2 ปั๊มแรงเหวี่ยงหนีศูนย์

โดยทั่วไป ปั๊มที่มีการแทนที่ของของไหล เช่นปั๊มที่มีไดอะแฟรม, ลูกสูบ, โรเตอร์ ฯ จะเหมาะสมกับการใช้ที่มีระยะรวมของหัวน้ำที่มากและมีปริมาณการใช้น้ำต่อวันที่ต่ำ และคุณสมบัติอีกอย่างของปั๊มชนิดนี้คือจะใช้พลังงานไฟฟ้าในการทำงานที่ต่ำกว่าปั๊มแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ จึงทำให้แม้สภาพอากาศที่มีเมฆมาก ปั๊มที่มีการแทนที่ของของไหลก็ยังสามารถทำงานได้ แต่ปั๊มแบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์จะไม่ทำงาน

 

ปั๊มแบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์จะเหมาะกับการใช้ที่มีระยะรวมของหัวน้ำที่ต่ำและมีปริมาณการใช้น้ำต่อวันที่สูง ข้อเสียอย่างหนึ่งของปั๊มชนิดนี้คือจะต้องตัวปั๊มจะต้องมีความเร็วรอบที่สูงพอที่จะขับน้ำออกไปจากบ่อได้ ถ้าสภาพอากาศมีเมฆมากจะทำให้พลังงานไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์มีกำลังต่ำลงจนไม่สามารถทำให้ปั๊มมีแรงขับพอที่จะส่งน้ำออกจากบ่อได้ถึงแม้ตัวปั๊มจะหมุนที่รอบต่ำก็ตาม

A 1108

รูปที่3 โซล่าแทรกเกอร์

วิธีที่จะแก้ไขข้อเสียของปั๊มแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ก็คือการติดตั้งโซล่าแทรคเกอร์(Solar Tracker)เข้าไปในระบบจะทำให้แผงโซล่าเซลล์สามารถหันไปตามแสงของพระอาทิตย์ได้ทำให้ได้พลังงานไฟฟ้าที่เพียงพอที่จะสามารถขับปั๊มแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ให้มีความเร็วรอบที่เพียงพอที่จะส่งน้ำได้ นอกจากนี้ยังเพิ่มปริมาณน้ำที่เก็บได้ต่อวันอีกด้วย

 

ไฟส่องสว่าง – หลอดไฟ

ไฟส่องสว่าง – หลอดไฟ

นับว่าไฟส่องสว่างนั้นเป็นโหลดชนิดหลักที่มักใช้กันมากที่สุด ดังนั้นการเลือกไฟส่องสว่างที่มีประสิทธิภาพและประหยัดพลังงานจะทำให้ระบบใช้พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด ไฟส่องสว่างโดยทั่วไปแบ่งเป็นสองประเภทคือใช้งานกับไฟกระแสตรงและใช้งานกับไฟกระแสสลับ

1.      ไฟส่องสว่างที่ใช้กับไฟกระแสตรง ส่วนใหญ่จะนิยมใช้ DC Compact Fluorescent Lamps(DC CFL) เพราะประหยัดไฟมากกว่าหลอดไส้และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน มีลักษณะคล้ายหลอดตะเกียบ สามารถใช้ได้กับแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง 12 โวลท์และ/หรือ 24 โวลท์ แล้วแต่รุ่น โดยทั่วไปมีขนาดกำลังไฟฟ้าให้เลือกตั้งแต่ 3-15 วัตต์ ใช้กับระบบ    แสตนอโลน(Stand alone) เช่นบ้านพักอาศัย รถบ้าน เรือ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีชนิดของไฟส่องสว่างแรงดันกระแสตรงที่นิยมใช้กันอย่างมากมายในปัจจุบันก็คือ หลอดแอลอีดี(LED lamps) ซึ่งก็เป็นหลอดไฟที่ประหยัดเช่นเดียวกัน ข้อควรระวัง-ในการเลือกซื้อไฟส่องสว่างกระแสตรงก็คือควรเลือกหลอดที่มีแรงดันให้ตรงกับระบบที่ออกแบบไว้ เช่นระบบ 12 โวลท์ ก็ต้องเลือกหลอด 12 โวลท์

CFL_energy_efficient_light_bulbs_w

LED-Bulb_w

 

2.      ไฟส่องสว่างที่ใช้กับไฟฟ้ากระแสสลับก็คือไฟฟ้าตามบ้านเรือนทั่วไป ที่ใช้แรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ 220 โวลท์ 50 เฮริต์ การต่อไฟส่องสว่างชนิดนี้กับระบบโซล่าเซลล์ก็คือจะต้องต่อไฟฟ้ากระแสสลับที่แปลงจากอินเวอร์เตอร์มาแล้ว การเลือกหลอดควรเลือกที่ประหยัดไฟฟ้าเพื่อระบบจะได้ใช้พลังงานได้อย่างคุ้มค่า

 

led lamp1_w

ac-dc-led-tube-light_w

 

 

แผนภูมิอุณหภูมิสีของหลอดไฟชนิดต่างๆ

daylight lamp warm white lamp

สีหลอดทางฝั่งซ้ายเรียกว่า เดย์ไลท์ (Daylight); ส่วนสีหลอดทางฝั่งขวาเรียกว่า วอร์มไวท์ (Warm white)

อุณหภูมิของสีใช้เป็นมาตรฐานในการบ่งบอกสีของหลอดไฟชนิดต่างๆซึ่งมีหน่วยวัดเป็นเคลวิน(Kelvins-K)โดยมีคุณลักษณะตามแต่ละประเภทที่ใช้งาน ดังตารางข้างล่างนี้:

color temp chart_w

อุณหภูมิสี °K รหัสสี ชื่อเรียกทั่วไป หมายเหตุ
2700 827 วอร์มไวท์(WarmWhite) สีเหมือนกับหลอดไส้ทั่วไป ให้ความรู้สึกอุ่นสบาย
3000 830 วอร์มไวท์(Warm White) สีเหมือนหลอดฮาโลเจน ให้แสงที่ขาวกว่าหลอดไส้ทั่วไปเล็กน้อย.
3500 835 ไวท์(White) สีมาตรฐานของหลอดฟูลออเรซเซนต์หรือหลอดตะเกียบคอมแพคฟูลออเรซเซนต์โดยทั่วไป
4000 840 คูลไวท์(Cool White) สีเหมือนหลอดที่ใช้ทั่วไปทางการแพทย์ให้ความรู้สึกล้ำสมัย
6000 860 เดย์ไลท์(Daylight) สีเหมือนการจำลองสภาพแสงธรรมชาติตอนกลางวัน ส่วนใหญ่ใช้กับหลอดฟูลออเรซเซนต์หรือหลอดตะเกียบคอมแพคฟูลออเรซเซนต์
6500 865 คูลเดย์ไลท์(Cool Daylight) มีลักษณะเป็นสีขาวสว่างมาก ใช้กับงานเฉพาะด้าน

 

ตารางเปรียบเทียบหลอดชนิดต่างๆ


หลอดไส้(Incandescent) 

หลอดตะเกียบ(CFL) 

หลอดฮาโลเจน(Halogen) 
 หลอดแอลอีดี
(LED)

หลอดโซเดียมความดันสูง
(High Pressure Sodium)

ค่าแสงสว่างโดยประมาณ(Lumen Range) 
12-15W 1W 90lm
25W 5-6W 25W 3W 270lm
30W 7-9W 4w 360lm
40W 9-13W 50W 5W 450lm
60W 13-15W 60W 7W 630lm
75W 18-23W 9W 810lm
100W 25-30W 13W 1200lm
150W 30-52W 15W 1300lm
150W 40W 3600lm
50W 150-250W 4500lm
70W 250-300W 6300lm
90W 300-400W 8100lm
100W 400-450W 9000lm
120W 450-550W 11000lm

อายุการใช้งาน

หลอดแอดอีดี(LEDlight bulb)                               :  50000 ชั่วโมง
หลอดไส้(Incandescent bulb)                              :  1200   ชั่วโมง
หลอดตะเกียบคอมแพคฟลูออเรซเซนต์(CFL lamp) :  8000  ชั่วโมง
หลอดฮาโลเจน(Halogen Bulb)                             :  2000 ชั่วโมง

เครื่องใช้ไฟฟ้า

ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดต่างๆ

เครี่องใช้ไฟฟ้า กำลังไฟฟ้าใช้งาน(วัตต์)
ไฟส่องสว่าง  
หลอดตะเกียบ 20
หลอดฟลูออเรซเซนต์ผอม 36
หลอดไส้ 40
หลอดแอลอีดี(DC) T5 9
หลอด LED 12V 3
ปั๊มน้ำ  
ปั๊มน้ำเอซี 500
ปั๊มน้ำดีซีขนาด 45 ลิตร/วัน 90
เครื่องทำความเย็น  
พัดลมแขวนเพดาน 70
พัดลมตั้งโต๊ะ 40
พัดลมดีซี 16
ตู้เย็นขนาดเล็ก 1.8 คิว 35
ตู้เย็นขนาดกลาง 5.5คิว 70
เครื่องปรับอากาศขนาดเล็ก 900
เครื่องปรับอากาศขนาดกลาง 1500
บันเทิง  
โทรทัศน์หลอดแก้วขนาดเล็ก 50
โทรทัศน์หลอดแก้ว                24 นิ้ว 150
โทรทัศน์แอลซีดี แอลอีดี 32 นิ้ว 90
คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ 150
คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค 65
วิทยุขนาดเล็ก 50
ที่ชาร์จมือถือ 5
เสื้อผ้า  
เตารีด 1000
เครื่องซักผ้า 450
เครื่องครัว  
เตาไมโครเวฟ 1200
เตาไฟฟ้า 1500
กาต้มน้ำไฟฟ้า 1000
หม้อหุงข้าวขนาดเล็ก AC 1ลิตร 400
เครื่องปั่นน้ำผลไม้ขนาด 1.5 ลิตร 400
เครื่องมือช่าง  
สว่าน 300
เครื่องหินเจีย 600

 

โหลดและปั๊มน้ำ

โหลดชนิดต่างๆ

ไฟส่องสว่าง – หลอดไฟ

นับว่าไฟส่องสว่างนั้นเป็นโหลดชนิดหลักที่มักใช้กันมากที่สุด ดังนั้นการเลือกไฟส่องสว่างที่มีประสิทธิภาพและประหยัดพลังงานจะทำให้ระบบใช้พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด ไฟส่องสว่างโดยทั่วไปแบ่งเป็นสองประเภทคือใช้งานกับไฟกระแสตรงและใช้งานกับไฟกระแสสลับ

1.      ไฟส่องสว่างที่ใช้กับไฟกระแสตรง ส่วนใหญ่จะนิยมใช้ DC Compact Fluorescent Lamps(DC CFL) เพราะประหยัดไฟมากกว่าหลอดไส้และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน มีลักษณะคล้ายหลอดตะเกียบ สามารถใช้ได้กับแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง 12 โวลท์และ/หรือ 24 โวลท์ แล้วแต่รุ่น โดยทั่วไปมีขนาดกำลังไฟฟ้าให้เลือกตั้งแต่ 3-15 วัตต์ ใช้กับระบบ    แสตนอโลน(Stand alone) เช่นบ้านพักอาศัย รถบ้าน เรือ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีชนิดของไฟส่องสว่างแรงดันกระแสตรงที่นิยมใช้กันอย่างมากมายในปัจจุบันก็คือ หลอดแอลอีดี(LED lamps) ซึ่งก็เป็นหลอดไฟที่ประหยัดเช่นเดียวกัน ข้อควรระวัง-ในการเลือกซื้อไฟส่องสว่างกระแสตรงก็คือควรเลือกหลอดที่มีแรงดันให้ตรงกับระบบที่ออกแบบไว้ เช่นระบบ 12 โวลท์ ก็ต้องเลือกหลอด 12 โวลท์

CFL_energy_efficient_light_bulbs_w

LED-Bulb_w

 

2.      ไฟส่องสว่างที่ใช้กับไฟฟ้ากระแสสลับก็คือไฟฟ้าตามบ้านเรือนทั่วไป ที่ใช้แรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ 220 โวลท์ 50 เฮริต์ การต่อไฟส่องสว่างชนิดนี้กับระบบโซล่าเซลล์ก็คือจะต้องต่อไฟฟ้ากระแสสลับที่แปลงจากอินเวอร์เตอร์มาแล้ว การเลือกหลอดควรเลือกที่ประหยัดไฟฟ้าเพื่อระบบจะได้ใช้พลังงานได้อย่างคุ้มค่า

 

led lamp1_w

ac-dc-led-tube-light_w

 

 

แผนภูมิอุณหภูมิสีของหลอดไฟชนิดต่างๆ

daylight lamp warm white lamp

สีหลอดทางฝั่งซ้ายเรียกว่า เดย์ไลท์ (Daylight); ส่วนสีหลอดทางฝั่งขวาเรียกว่า วอร์มไวท์ (Warm white)

อุณหภูมิของสีใช้เป็นมาตรฐานในการบ่งบอกสีของหลอดไฟชนิดต่างๆซึ่งมีหน่วยวัดเป็นเคลวิน(Kelvins-K)โดยมีคุณลักษณะตามแต่ละประเภทที่ใช้งาน ดังตารางข้างล่างนี้:

color temp chart_w

อุณหภูมิสี °K รหัสสี ชื่อเรียกทั่วไป หมายเหตุ
2700 827 วอร์มไวท์(WarmWhite) สีเหมือนกับหลอดไส้ทั่วไป ให้ความรู้สึกอุ่นสบาย
3000 830 วอร์มไวท์(Warm White) สีเหมือนหลอดฮาโลเจน ให้แสงที่ขาวกว่าหลอดไส้ทั่วไปเล็กน้อย.
3500 835 ไวท์(White) สีมาตรฐานของหลอดฟูลออเรซเซนต์หรือหลอดตะเกียบคอมแพคฟูลออเรซเซนต์โดยทั่วไป
4000 840 คูลไวท์(Cool White) สีเหมือนหลอดที่ใช้ทั่วไปทางการแพทย์ให้ความรู้สึกล้ำสมัย
6000 860 เดย์ไลท์(Daylight) สีเหมือนการจำลองสภาพแสงธรรมชาติตอนกลางวัน ส่วนใหญ่ใช้กับหลอดฟูลออเรซเซนต์หรือหลอดตะเกียบคอมแพคฟูลออเรซเซนต์
6500 865 คูลเดย์ไลท์(Cool Daylight) มีลักษณะเป็นสีขาวสว่างมาก ใช้กับงานเฉพาะด้าน

 

ตารางเปรียบเทียบหลอดชนิดต่างๆ


หลอดไส้(Incandescent) 

หลอดตะเกียบ(CFL) 

หลอดฮาโลเจน(Halogen) 
 หลอดแอลอีดี
(LED)

หลอดโซเดียมความดันสูง
(High Pressure Sodium)

ค่าแสงสว่างโดยประมาณ(Lumen Range) 
12-15W 1W 90lm
25W 5-6W 25W 3W 270lm
30W 7-9W 4w 360lm
40W 9-13W 50W 5W 450lm
60W 13-15W 60W 7W 630lm
75W 18-23W 9W 810lm
100W 25-30W 13W 1200lm
150W 30-52W 15W 1300lm
150W 40W 3600lm
50W 150-250W 4500lm
70W 250-300W 6300lm
90W 300-400W 8100lm
100W 400-450W 9000lm
120W 450-550W 11000lm

อายุการใช้งาน

หลอดแอดอีดี(LEDlight bulb)                               :  50000 ชั่วโมง
หลอดไส้(Incandescent bulb)                              :  1200   ชั่วโมง
หลอดตะเกียบคอมแพคฟลูออเรซเซนต์(CFL lamp) :  8000  ชั่วโมง
หลอดฮาโลเจน(Halogen Bulb)                             :  2000 ชั่วโมง

ปั๊มน้ำแรงดันกระแสตรง

ปั๊มน้ำเป็นโหลดอีกหนึ่งอย่างที่นิยมนำมาประยุกต์ใช้กับระบบโซล่าเซลล์ ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ในภาคการเกษตรและปศุสัตว์ หรืออาจนำมาประยุกต์ใช้ตามบ้านเรือนทั่วไปได้ โดยการสูบน้ำจากที่ต่ำขึ้นที่สูงเก็บใส่แทงค์น้ำ แล้วนำน้ำจากในแทงค์มาใช้ในบ้านเรือนได้

ปั๊มน้ำแรงดันกระแสตรงที่นิยมใช้ ได้แก่

  • 1.ปั๊มน้ำดีซีแบบจุ่ม(DC-brushless Submersible Pump) – การใช้จะต้องจุ่มตัวปั๊มลงไปในน้ำเพื่อจะดูดน้ำไปยังอีกที่หนึ่ง ซึ่งอัตราการไหลของน้ำ(ลิตรต่อนาที) ความสูงสูงสุดที่น้ำจะส่งไป(เมตร)และระยะทางน้ำที่ดูดไปถึงปลายทาง(เมตร) จะขึ้นอยู่กับสเปคของแต่เครื่อง
  • DC_submersible_w
  • การใช้งานปั๊มชนิดนี้ส่วนใหญ่แล้วจะสูบน้ำจากที่หนึ่งไปยังอีกทีหนึ่งโดยปริมาณและความสูงของน้ำไม่มากเพราะตามโครงสร้างของปั๊มนั้นไม่ได้ออกแบบมาให้ใช้งานหนัก
  • การเลือกปั๊มน้ำควรเลือกให้มีแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงให้ตรงกับระบบที่ออกแบบไว้และให้สอดคล้องกับการนำไปใช้งานด้วย
  • การต่อวงจรใช้งานร่วมกับระบบควรต่อไฟฟ้ากระแสตรงฝั่งที่ออกจากแบตเตอรี่จะได้มีแรงดันที่คงที่ในการใช้งานปั๊มน้ำเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับตัวปั๊มเมื่อจ่ายแรงดันเกินกว่าที่สเปคของปั๊มเป็นระยะเวลานานๆ

2.ปั๊มน้ำดีซีบาดาล(DC Submersible pump) – การใช้งานจะต้องจุ่มปั๊มลงไปในน้ำเหมือนกันกับปั๊มจุ่มชนิดแรก แต่มีข้อดีที่เพิ่มขึ้นมาคือสามารถต่อวงจรตัวปั๊มโดยตรงกับตัวแผงโซล่าเซลล์ได้เลย โดยที่ไม่ทำให้ตัวปั๊มชนิดนี้เสียหายเพราะโครงสร้างที่ออกแบบมาสามารถรองรับการใช้งานที่แรงดันกระแสตรงที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ แผงโซล่าเซลล์ผลิตแรงดันได้มากน้อยขึ้นอยู่ที่ความเข้มแสงที่ตกกระทบแผง เมื่อนำไฟฟ้ากระแสตรงที่ผลิตได้ไปจ่ายให้กับปั๊มบาดาล ตัวปั๊มก็จะปรับเปลี่ยนอัตราความเร็วการหมุนของมอเตอร์ที่อยู่ภายใน ทำให้ปั๊มชนิดนี้ไม่จำเป็นต้องใช้แบตเตอรี่มาต่อในระบบก็ได้ แต่ถ้าอยากให้ประสิทธิภาพการสูบน้ำดียิ่งขึ้นก็ต่อระบบที่มีแบตเตอรี่พ่วงเข้าไป

Low-Pressure-DC-Diaphragm-Pumps_w

 

  • ความสูงสูงสุดที่สูบน้ำได้ อัตราการไหล และระยะทางส่งน้ำของปั๊มดีซีบาดาลจะมีประสิทธิภาพมากกว่าปั๊มดีซีไร้แปรงถ่านแบบจุ่ม แต่ก็จะมีราคาที่สูงตามไปด้วย
  • การประยุกต์ใช้งาน ส่วนใหญ่จะใช้สูบน้ำปศุสัตว์ สูบน้ำบาดาลที่มีบ่อลึก สูบน้ำที่มีระยะไกล

3.ปั๊มแรงดัน(DC pressure pump) – เป็นปั๊มน้ำที่จะเพิ่มแรงดันน้ำปลายทางให้แรงขึ้นมีหน่วยแรงดันเป็นบาร์(bars) นิยมใช้กับการเพิ่มความแรงของน้ำเช่นล้างรถ ระบบสปริงเกิลพ่นน้ำ หรือสามารถนำไปประยุกต์ใช้การสูบน้ำขึ้นที่สูงก็ได้เช่นกันเพราะแรงดันน้ำปลายทางที่สูบจากปั๊มเพิ่มขึ้น

 

  • การต่อปั๊มใช้งานควรต่อพ่วงกับแบตเตอรี่เพื่อรักษาระดับแรงดันไฟฟ้าที่ป้อนให้กับตัวปั๊มป้องกันการเสียหาย

อุปกรณ์ติดตั้งเสริมในระบบโซล่าเซลล์

อุปกรณ์ติดตั้งเสริมต่างๆในระบบ

ตัวป้องกันความเสียหายที่เกิดจากฟ้าผ่า(Lighting Protection)

เมื่อเวลาฟ้าผ่าจะเกิดแรงดันที่สูงมาก(Surge Voltage)ในช่วงเวลาหนึ่งถึงแม้จะบริเวณที่ฟ้าผ่าจะไม่ได้อยู่ใกล้ก็ตามแต่แรงดันตัวนี้เองสามารถทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆที่อยู่ในระบบโซล่าเซลล์เกิดความเสียหายได้ ซึ่งใช้เงินเป็นจำนวนมากในการซ่อมหรือบางทีอาจจะต้องซื้ออุปกรณ์บางตัวหรือทั้งระบบใหม่เลยก็ได้ ดังนั้นในระบบที่ดีควรจะต้องมีอุปกรณ์ป้องกันความเสียหายที่เกิดจากฟ้าผ่าไว้ด้วย

ระบบป้องกันฟ้าผ่าแบบเสาล่อฟ้า(Rod Lighting Protection) เป็นอุปกรณ์ที่มีราคาแพงในการติดตั้งและไม่เหมาะที่จะนำมาใช้กับระบบโซล่าเซลล์อยู่ดี เพราะอย่างไรก็เกิดแรงดันที่สูงเข้าสู่อุปกรณ์ในระบบโซล่าเซลล์ได้ และทำให้อุปกรณ์ที่อยู่ในระบบต่างเสียหายได้

อุปกรณ์ป้องกันการฟ้าผ่าที่มีราคาที่ถูกและเหมาะที่จะนำมาใช้กับระบบโซล่าเซลล์คือ              ซาร์กอเรสเตอร์(Surge arrestor) ซึ่งทำจากเมทัลอ๊อกไซด์วาริสเตอร์(Metal Oxide Varistor)

การต่อวงจรของซาร์กอเรสเตอร์คือต้องต่อทั้งสองขั้วทั้งบวก(+)และลบ(-)ที่ไฟกระแสตรงลงขั้วกราวด์ ดังรูป

 

surge-arresters-diagram1_w

 

หลักการทำงานของซาร์กอเรสเตอร์คือในภาวะปกติซาร์กอเรสเตอร์จะเป็นวงจรที่ปิดไว้ เมื่อมีแรงดันเกินกว่าที่กำหนด(ส่วนใหญ่แล้วจะประมาณ 40-60 โวลท์ในระบบ 12 โวลท์)จะเปลี่ยนสถานะของตัวเองเป็นวงจรที่ปิดเพื่อป้องกันแรงดันที่สูงเกินส่งไปยังอุปกรณ์เช่นเครื่องควบคุมการชาร์จ, อินเวอร์เตอร์ในระบบซึ่งอาจทำให้อุปกรณ์เสียหายได้ ซาร์กอเรสเตอร์ราคาถูกเมื่อถูกใช้งานแล้วก็จะทำลายตัวเองไป ดังนั้นต้องทำการเปลี่ยนตัวใหม่เข้าไปแทน ถ้าเป็นซาร์กอเรสเตอร์ซึ่งมีราคาสูงขึ้นมา ก็จะสามารถต่อวงจรตัวเองให้กลับมามีสภาวะที่ปกติพร้อมให้ระบบใช้งานต่อไปได้

midnite-solar-surge-protection-mnspd-115-volts_wdc-surge-arrester-1_w

 

การติดตั้งซาร์กอเรสเตอร์สามารถติดตั้งได้ทั้งนอกและในอาคารแล้วแต่ว่าสเปค แต่โดยทั่วไปแล้วส่วนใหญ่จะติดตั้งอยู่ในตู้รวมสาย(String Combiner) ซึ่งจะอธิบายต่อไป

ตู้รวมสาย(String Combiner)

การที่แผงโซล่าเซลล์ต่อรวมกันเป็นชุดๆนั้นจะมีจำนวนของสายไฟเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเพื่อความเป็นระเบียบ ง่ายต่อการจัดการสายและต่อวงจรในระบบ ดังนั้นจึงต้องมีตู้รวมสายติดตั้งภายในระบบด้วย ตู้รวมสายในระบบโซล่าเซลล์นั้นจะคล้ายๆกับรู้รวมสายไฟที่ใช้อยู่ตามบ้านเรือนในปัจจุบัน ที่มีเบรคเกอร์ และมีแท่นสำหรับรวมสายไฟ แต่ที่เพิ่มขึ้นมาคือช่องต่อซาร์กอเรสเตอร์กับบล๊อคกิ่งไดโอด(Blocking Diode)

 

string combiner1_w

 

การเลือกเบรคเกอร์ต้องเลือกเบรคเกอร์ที่จะมาติดตั้งในตู้รวมสายให้มีสเปคที่ถูกต้อง เบรคเกอร์ที่ใช้ต้องบอกสเปคให้สัมพันธ์กับไฟฟ้ากระแสตรง เพราะเราจะต้องนำเบรคเกอร์นี้ไปต่อกับชุดแผงโซล่าเซลล์ ขนาดของสายไฟฟ้าที่ติดตั้งภายในตู้รวมสายต้องคำนวนให้สอดคล้องกับกระแสที่อยู่ในระบบ ถ้ากระแสที่ไหลผ่านในระบบมีมากควรเลือกสายไฟที่มีขนาดใหญ่กว่าที่คำนวนไว้ นอกจากนี้ตู้รวมสายยังมีข้อดีคือสามารถหาข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในระบบได้สะดวกมากขึ้น เพราะสามารถที่จะแยกปลดแผงโซล่าเซลล์ทีละชุดเพื่อเช็คว่าจุดเสียมาจากตรงไหน

การติดตั้งตู้รวมสายควรติดตั้งไว้ในอาคาร แต่ถ้าต้องการติดตั้งนอกอาคารควรที่จะเป็นแบบป้องกันน้ำได้ด้วย