อัตราการใช้ไฟฟ้า ของเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน
การคำนวณอัตราค่าไฟฟ้านั้น เราควรจะทราบว่า เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆ ใช้ไฟฟ้าหรือกินไฟเท่าไหร่ โดยสังเกตคู่มือการใช้งาน หรือแถบป้ายที่ติดอยู่กับเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่เขียนว่า กำลังไฟฟ้า มีหน่วยเป็นวัตต์ (Watt) ถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีจำนวนวัตต์มาก ก็กินไฟมากตามไปด้วย
ดังนั้น เราสามารถคำนวณจากเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดในบ้าน ว่ามีเครื่องใช้ไฟฟ้ากี่ชนิด แต่ละชนิดกินไฟกี่วัตต์ เปิดใช้งานประมาณกี่ชั่วโมง เพื่อนำมาคำนวณว่า ในแแต่ละเดือนท่านใช้ไฟฟ้าไปประมาณกี่หน่วย หรือใน 1 ชั่วโมงใช้ไฟมากเท่าไร
การใช้ไฟฟ้า 1 หน่วยหรือ 1 ยูนิตคือ เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาด 1,000 วัตต์ที่ใช้งานใน 1 ชั่วโมง
หรือเรียกย่อๆว่า 1 กิโลวัตต์-ชั่วโมง(kWh) นั่นเอง
หมายเหตุ 1,000 วัตต์เท่ากับ 1 กิโลวัตต์
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดต่างๆ
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้ามีสูตรคำนวณง่ายๆ คือ
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อวัน = กำลังไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้า x ชั่วโมงการทำงานต่อวัน
สังเกตุว่าปริมาณการใช้ไฟฟ้าจะขึ้นอยู่ที่ตัวแปรสองตัวคือ กำลังไฟฟ้าและชั่วโมงการทำงาน เช่นหลอดไฟกำลังไฟฟ้าขนาด 18 วัตต์ เปิดใช้งาน 24 ชั่วโมงต่อวัน จะกินไฟเท่ากับ 432 วัตต์ต่อวัน ถ้าแปลงเป็นจำนวนยูนิต(หน่วย) จะได้ 0.432 หน่วยต่อวัน เปรียบเทียบกับหม้อหุงข้าวขนาด 432 วัตต์ เปิดใช้งาน 1 ชั่วโมงต่อวัน จะกินไฟเท่ากับ 432 วัตต์ต่อวันเท่ากับกรณีแรก ดังนั้นจึงเห็นภาพได้กว้างๆว่า กำลังไฟฟ้าใช้งานของไฟฟ้าถึงแม้จะมีขนาดไม่มาก แต่เมื่อเปิดใช้งานเป็นเวลานานก็สามารถจะกินไฟเท่ากับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีกำลังวัตต์มากกว่าได้
ด้านล่างคือกำลังไฟฟ้าที่ใช้ในเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดต่างๆ ในบ้านเรามีแบบไหน จำนวนเท่าไร นำวัตต์ข้างล่างไปคำนวณการใช้กำลังไฟฟ้ารวมได้เลย นอกจากนี้ยังมีวิธีการเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดด้วย เพื่อที่ว่าเวลาไปเลือกซื้อควรจะเลือกให้เหมาะสมกับตัวเอง
หลอดไฟ แบบหลอดไส้
![]() |
– 40 วัตต์
– 60 วัตต์ |
วิธีการเลือกซื้อ
-ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรเลือกซื้อมาใช้เพราะจะใช้กำลังไฟฟ้ามากแต่ได้แสงสว่างน้อยที่เหลือจะสูญเสียในรูปความร้อน |
หลอดไฟ แบบหลอดตะเกียบ
![]() |
– 13 วัตต์ (ความสว่างเท่าหลอดไส้ 60 วัตต์) – 20 วัตต์ (ความสว่างเท่าหลอดไส้ 100 วัตต์) |
วิธีการเลือกซื้อ
-ถ้าเป็นไปได้ควรซื้อหลอดแอลอีดีแทน |
หลอดไฟ แบบหลอดนีออน
หลอดไฟแอลอีดี(LED) | ||
![]() |
– 10 วัตต์ – 18 วัตต์ |
วิธีการเลือกซื้อ
-เลือกที่คุณภาพและราคาที่เหมาะสม |
พัดลม
![]() |
– 45-75 วัตต์ (พัดลมตั้งพื้น) – 70-104 วัตต์ (พัดลมเพดาน) – 25 วัตต์ (พัดลมดูดอากาศ) |
วิธีการเลือกซื้อ
-ติดตั้งขนาดตามความต้องการของการใช้งาน |
หม้อหุงข้าว
![]() |
– 300 วัตต์ (ขนาด 0.5 ลิตร) – 450 วัตต์ (ขนาด 1.0 ลิตร) – 530 วัตต์ (ขนาด 1.5 ลิตร) – 1,100 วัตต์ (ขนาด 2.5 ลิตร) – 1,400 วัตต์ (ขนาด 4.0 ลิตร) |
ปั๊มน้ำ
![]() |
– 150 วัตต์ (ขนาด 3/4″) – 300 วัตต์ (ขนาด 1″) |
วิธีการเลือกซื้อ
-ติดตั้งขนาดตามความต้องการของการใช้งานเป็นหลัก |
เครื่องรับโทรทัศน์ ทีวี
เตารีด
![]() |
– 1,000 วัตต์ (แบบธรรมดา) – 1,400 วัตต์ (แบบไอน้ำเล็ก) – 1,800 วัตต์ (แบบไอน้ำใหญ่) |
วิธีการเลือกซื้อ
-เลือกขนาดให้เหมาะกับการใช้งาน |
กระติกน้ำร้อน
![]() |
– 600 วัตต์ (ขนาด 2.0 ลิตร) – 650 วัตต์ (ขนาด 2.5 ลิตร) – 750 วัตต์ (ขนาด 3.2 ลิตร) |
วิธีการเลือกซื้อ
-เลือกขนาดให้เหมาะกับการใช้งานและฉนวนที่มีประสิทธิภาพดี |
เครื่องทำน้ำอุ่น
![]() |
– 900 – 4,800 วัตต์ | วิธีการเลือกซื้อ
-เลือกขนาดให้เหมาะกับการใช้งาน ปริมาณการทำความร้อนไม่ควรสูงจนเกินไปเพราะจะทำให้ใช้ไฟมาก |
ตู้เย็น
![]() |
– 53 – 194 วัตต์ | วิธีการเลือกซื้อ
-เลือกขนาดให้เหมาะกับการใช้งาน และเลือกตู้เย็นที่มีประสิทธิภาพสูงในการใช้พลังงานเพราะจะเปิดใช้งานตลอดเวลา |
เครื่องปรับอากาศ (แอร์)
เครื่องซักผ้า
![]() |
– 250 – 1,000 วัตต์ | วิธีการเลือกซื้อ
-เลือกขนาดให้เหมาะกับการใช้งาน |
เครื่องปิ้งขนมปัง
![]() |
– 700 – 1,000 วัตต์ |
เครื่องคอมพิวเตอร์
![]() |
– 150 – 250 วัตต์ (CPU) – 300 วัตต์ (จอ ประมาณ 15″) ให้คำนวณ จอ + CPU |
เครื่องเล่น DVD
![]() |
– 30-50 วัตต์ |
อุปกรณ์ชาร์จมือถือ แท็บเล็ต โมเด็มไวไฟ
![]() |
– 3 – 10 วัตต์ |
จะเห็นได้ว่า อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการทำความร้อนหรือความเย็น จะกินไฟมาก เช่น เครื่องปรับอากาศ เครื่องทำน้ำอุ่น เตารีด เครื่องซักผ้า ฯ ดังนั้นการที่เริ่มจัดการพลังงานภายในบ้านของเราเพื่อประหยัดพลังงาน เราจำเป็นต้องรู้ว่าบ้านเรามีปริมาณการใช้ทั้งหมดเท่าไร เราจึงจะสามารถตั้งเป้าว่าจะลดเท่าไรได้และควรจะเริ่มลดจากเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทใด