มาตรการประหยัดพลังงาน

มาตรการประหยัดพลังงานและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

จำแนกตามเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดต่างดังนี้

เครื่องปรับอากาศ

  1. ควรตั้งอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศไว้ที่ 25 องศาเซลเซียสซึ่งสามารถที่จะประหยัดพลังงานไปได้ถึง10%เลยทีเดียว
  2. ปิดเครื่องปรับอากาศก่อนเวลาเช่นช่วงเช้าก่อนตื่นนอน ควรตั้งปิดก่อนเวลา 15 นาที เพราะยังมีความเย็นหลงเหลืออยู่ตอนที่กำลังตื่น
  3. เปิดพัดลมดูดอากาศเท่าที่จำเป็น
  4. ไม่ใส่เสื้อผ้าหนาเกินไปเพราะจะทำให้ร้อน หลังจากนั้นก็ไปตั้งอุณหภูมิแอร์ให้ต่ำลงซึ่งจะกินไฟมากขี้น
  5. ลดความร้อนเข้ามาในห้องเช่นติดกันสาดบังแสงด้านนอกบ้าน
  6. ป้องกันความเย็นไหลออกจากห้องหรือตัวบ้าน ซีลรอยรั่วที่ประตูและหน้าต่าง
  7. ควรบำรุงรักษาแอร์อย่างสม่ำเสมอเช่นการล้างแผ่นกรองอากาศ การล้างแอร์ครั้งใหญ่ 6 เดือนครั้งเป็นต้น

ตู้เย็น

  1. ควรตั้งตู้เย็นให้ด้านข้างและด้านหลังห่างกันอย่างน้อย 15 เซนติเมตรเพื่อทำให้ตู้เย็นระบายความร้อนได้ดียิ่งขึ้น
  2. ไม่ควรตั้งตู้เย็นในที่ที่โดนหรือใกล้แสงแดดหรือความร้อน
  3. ไม่ควรเก็บอาหารในตู้เย็นมากเกินไปจนอากาศภายในตู้เย็นไหลเวียนไม่ได้
  4. ไม่นำอาหารที่กำลังร้อนอยู่ไปใส่ในตู้เย็น
  5. หมั่นทำความสะอาดแผงระบายความร้อน
  6. ตรวจสอบขอบยางให้มีสภาพเก็บความเย็นได้ดีอยู่สม่ำเสมอ

พัดลม

  1. ทำความสะอาดพัดลมอยู่สม่ำเสมอ นอกจากช่วยเรื่องประหยัดพลังงานแล้วยังช่วยเรื่องสุขอนามัยอีกด้วย
  2. ไม่ควรเสียบพัดลมที่ควบคุมด้วยรีโมทคอนโทรลทิ้งไว้เพราะพัดลมนั้นยังกินไฟอยู่

เตารีด

 

  1. ควรรีดผ้าครั้งละมากๆ
  2. ควรตั้งใจรีดเสื้อผ้าให้เสร็จโดยเร็ว

กระติกน้ำร้อน

  1. ไม่ควรเสียบกระติดน้ำร้อนทิ้งไว้เมื่อไม่ใช้งาน เพราะการทำงานแบบสภาวะอุ่นก็กินไฟมากเช่นเดียวกัน
  2. ควรต้มน้ำในปริมาณที่พอเหมาะกับการอุปโภค ไม่ควรต้มมากเกินจำเป็น จะทำให้สิ้นเปลืองพลังงาน
  3. ควรถอดปลั๊กทุกครั้งเมื่อเลิกใช้งาน
  4. ไม่ควรตั้งกระติดน้ำร้อนไว้ในห้องปรับอากาศ เพราะความร้อนจะไปเพิ่มภาระให้กับเครื่องปรับอากาศอีกทีหนึ่ง
  5. ตรวจสอบกระติดน้ำร้อนให้มีสภาพดีอยู่เสมอ

เครื่องทำน้ำอุ่น

  1. เลือกใช้เครื่องทำน้ำอุ่นที่มีถังน้ำภายในตัวเครื่อง และมีฉนวนหุ้ม เพราะสามารถลดการใช้พลังงานลงได้ 10-20%
  2. ปิดสวิทช์เครื่องทำน้ำอุ่นทันทีเมื่อเลิกใช้งาน

หม้อหุงข้าว

  1. หุงข้าวจำนวนพอดีคน
  2. ก่อนหุงข้าวควรเช็ดน้ำที่ติดรอบขอบหม้อออกให้หมด จะทำให้ประหยัดพลังงานไฟฟ้าที่หุงข้าวได้
  3. ไม่ควรหุงข้าวในห้องปรับอากาศ
  4. ไม่ควรเหลือข้าวและเสียบปลั๊กอุ่นข้าวไปเรื่อยๆอย่างนั้น เพราะเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานเป็นอย่างมาก แนะนำให้ตักข้าวที่เหลือขึ้นมาพัก เวลาจะรับประทานอีกครั้งให้นำไปอุ่นในไมโครเวฟจะประหยัดพลังงานมากกว่า

เตาอบไฟฟ้า

  1. ติดตั้งเตาอบให้ห่างผนังอย่างน้อย 5 เซนติเมตรเพื่อระบายความร้อน

หลอดไฟ

  1. ควรติดตั้งหลอดไฟให้เหมาะสมกับการใช้งาน
  2. ปิดเมื่อไม่ใช้ หรือในพื้นที่ที่มีการเปิดไฟทิ้งไว้แต่ไม่ได้ใช้งาน ควรติดตั้งสวิทช์กระตุกหรือแยกสวิทช์ปิดไฟบริเวณนั้นให้เรียบร้อย
  3. ควรทำความสะอาดหลอดไฟอย่างสม่ำเสมอ จะได้แสงสว่างจากหลอดไฟได้ดียิ่งขึ้น

คอมพิวเตอร์

  1. ปิดเมื่อไม่ใช้งาน ทั้งหน้าจอและตัวคอมเอง
  2. พิจารณาเลือกใช้โน๊ตบุ๊ค ซึ่งจะกินไฟน้อยกว่าคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ

โทรทัศน์

  1. ถอดปลั๊กหรือปิดสวิทช์ไฟเมื่อไม่ใช้งาน เพราะจะมีไฟเลี้ยงโทรทัศน์ตลอดเวลาในกรณีที่ไม่ได้ถอดปลั๊กออก ซึ่งทำให้สิ้นเปลืองมาก
  2. ควรเลือกโทรทัศน์ที่ประหยัดไฟอย่างเช่น โทรทัศน์ LED ซึ่งกินไฟน้อยกว่าโทรทัศน์หลอดแก้ว เป็นต้น

อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ

สำคัญมากคือ เมื่อไม่ใช้งานให้ถอดปลั๊กออกหรือปิดสวิทช์ไฟทันที เพราะการเสียบปลั๊กไฟไว้ อุปกรณ์ตัวนั้นจะกินไฟไปเรื่อย ถึงแม้จะกินไฟในปริมาณน้อยแต่เมื่อกินตลอด 24 ชั่วโมง 365 วัน ก็เป็นปริมาณไฟและจำนวนเงินค่าไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก จากการศึกษาและวิเคราะห์การใช้ไฟฟ้าภายในบ้านพบว่า โหลดที่กินไฟเล็กน้อยในสถานะสแตนบายเนี่ยแหละเป็นตัวแวมไพร์ที่กินไฟมากที่แฝงตัวอยู่ในบ้าน