เครื่องควบคุมการชาร์จ(Charge Controller)
แผงโซล่าเซลล์ทำงานผลิตไฟฟ้ากระแสตรงออกมา ถ้าระบบที่ออกแบบมีการต่อพ่วงกับแบตเตอรี่ด้วย ในบางครั้งแสงที่ตกกระทบแผงโซล่าเซลล์อาจจะไม่สม่ำเสมอกันตลอดทั้งวันจึงทำให้กระแสและแรงดันที่ผลิตได้จากแผงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาบางช่วงก็สูงบางช่วงก็ต่ำทำให้แรงดันและกระแสไฟฟ้าไม่คงที่ ดังนั้นการชาร์จประจุไฟฟ้าของแผงโดยตรงกับแบตเตอรี่จึงไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรและที่สำคัญคือจะทำให้อายุการใช้งานของแบตเตอรี่จะสั้นในลงอีกด้วยเพราะแรงดันที่ผลิตจากแผงโซล่าเซลล์บางครั้งก็สูงเกินกว่าค่าแรงดันที่จะทำการชาร์จแบตเตอรี่
เครื่องควบคุมการชาร์จจึงถูกออกแบบมาเพื่อทำให้การชาร์จไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่นั้นมีประสิทธิภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังป้องกันการเสียหายที่เกิดจากการชาร์จแบตเตอรี่ที่มีแรงดันสูงเกินไปอีกด้วย
การทำงานของเครื่องควบคุมการชาร์จ
เครื่องควบคุมการชาร์จจะต่อระหว่างแผงโซล่าเซลล์กับแบตเตอรี่และโหลด(ตามรูป) ทำงานโดยจะดูว่าแรงดันไฟฟ้าที่อยู่ในแบตเตอรี่อยู่ในระดับใด ถ้าอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าที่ตั้งไว้ ตัวเครื่องควบคุมการชาร์จจะทำการปลดโหลดออกจากระบบโดยทันที(Load disconnect)เพื่อป้องกันการคลายประจุของแบตเตอรี่ที่มากเกินไปและอาจทำให้แบตเตอรี่เสื่อมเร็วขึ้น ส่วนใหญ่จะตั้งค่าแรงดันการปลดโหลดไว้ที่ประมาณ 11.5 โวลท์สำหรับแรงดันระบบที่ 12 โวลท์ นอกจากนี้เครื่องควบคุมการชาร์จก็จะต่อการทำงานของโหลดใหม่(Load reconnect) ถ้าแบตเตอรี่มีค่าแรงดันที่เพิ่มขึ้นตามที่ตั้งไว้ เช่นค่าจะตั้งไว้ที่ 12.6โวลท์สำหรับแรงดันระบบ 12 โวลท์เป็นต้น
ส่วนแรงดันในการชาร์จแบตเตอรี่โดยทั่วไป(Regulation Voltage)จะมีค่า 14.3 โวลท์สำหรับระบบ 12 โวลท์ เมื่อแบตเตอรี่ชาร์จจนเต็ม ถ้าปล่อยแบตเตอรี่ทิ้งไว้แรงดันของแบตเตอรี่จะลดลง ดังนั้นเครื่องควบคุมการชาร์จจะชาร์จรักษาระดับแรงดันในแบตเตอรี่ให้คงที่อยู่เสมอ(Float Voltage) มีค่า 13.7 โวลท์ สำหรับระบบ 12 โวลท์
เครื่องควบคุมการชาร์จโดยทั่วไปจะทำงานแบบเพาล์วิทมอดูเลชั่น(Pulse Width Modulation – PWM) คือใช้ลูกคลื่นไฟฟ้าในช่วงสั้นในการชาร์จประจุไฟฟ้าให้กับแบตเตอรี่ นอกจากนี้ยังมีเครื่องควบคุมการชาร์จแบบเอ็มพีพีทีที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเครื่องควบคุมการชาร์จแบบปกติอีกด้วย เมื่อนำมาต่อเข้ากับระบบแล้วจะทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเพราะแบตเตอรี่ทำการเก็บและจ่ายประจุไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้ผลิตบางรายอ้างว่าเมื่อใช้ เครื่องควบคุมการชาร์จแบบเอ็มพีพีทีจะทำให้ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์ที่จะส่งไปยังแบตเตอรี่เพิ่มขึ้นถึง 40 เปอร์เซนต์ ซึ่งก็อาจจะเป็นไปได้เมื่อแบตเตอรี่มีค่าแรงดันต่ำหรือแสงแดดในวันนั้นมีค่าเข้มแสงไม่มาก
จากการทำงานที่กล่าวมา เครื่องควบคุมการชาร์จสามารถยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ให้เพิ่มมากขึ้นและการชาร์จประจุแบตเตอรี่ก็มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน
ข้อควรระวัง!
- ไม่ควรเลือกขนาดของเครื่องควบคุมการชาร์จใหญ่เกินกว่าที่ระบบต้องการ เพราะนอกจากจะทำให้ประสิทธิภาพในการชาร์จได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยแล้ว ยังต้องเสียเงินซื้อเครื่องควบคุมการชาร์จราคามากเกินความจำเป็นด้วย
- ควรเลือกเครื่องควบคุมการชาร์จให้รองรับกับแรงดันระบบที่เลือกใช้เช่น แรงดันระบบ 24 โวลท์ควรเลือกเครื่องความคุมการชาร์จที่รองรับแรงดัน 24 โวลท์
- ควรเลือกขนาดกระแสของเครื่องควบคุมการชาร์จให้เหมาะสมกับขนาดรวมของแผงโซล่าเซลล์ มิฉะนั้นอาจทำให้เครื่องควบคุมการชาร์จหรือแบตเตอรี่เสียหายได้ การออกแบบระบบและเลือกเครื่องควบคุมการชาร์จตาม คู่มือการออกแบบ ติดตั้งและใช้งานโซล่าเซลล์เบื้องต้น จะสามารถทำให้ทั้งระบบทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
แผงโซล่าเซลล์ 120 วัตต์ จะต้องใช้เครื่องควบคุมการชารทผ้ ขนาดกี่แอมป์
ตอบคุณซัน…แผง 120 วัตต์ใช้เครื่องควบคุมการชาร์จ 10 แอมป์ก็พอครับ
แผง120wวัดแรงดันที่แผงได้18vdc จะใช้ตัวชาร์จ12vdcได้มั้ยครับ
ได้ครับ
แผงโซล่า 12v 80w ชาร์ทตรงเข้าแบต มีกระแส 3A แล้วถ้าชาร์ทผ่านเครื่องควบคุมการชาร์ทที่ดี ควรจะมีกระแสชาร์ทเข้าแบต ประมาณกี่แอมป์ ครับ
เท่ากับกระแสดีสุดที่แผงผลิตได้ครับ(Imp-Maximum power current) ครับคุณโจวี่
เท่ากับชาร์ทตรง 3แอม ขอบคุณครับ
ยินดีครับคุณโจวี่
ติดตามข่างสารข้อมูลและทิปต่างๆเกี่ยวกับโซล่าได้ใน SSK facebook ได้นะครับ
ถ้าแผงโซล่า 120w mono ผมวัดแรงดันได้ 27v เราใช้ คอนโทลชาร์จ 10A12v24v ลงแบตเตอรี่ 12v ตัวคอนโทลจะปรับแรงดันให้เรา เป็น 12v ไหมครับ หรือเราต้องซื้อแบต 12v มาต่ออนุกรมให้ได้24v
สเปคแผง 120 วัตต์ Vmp เท่าไรครับ
โซล่าเซลล์ 55w 12v 3.45A 21แผง ต่ออนุกรมกัน ชุดละ7แผงแล้วมาต่่อขนานกัน ได้ไฟ 36v 24.15A ควรใช้คอนโทลชาร์จแบบไหนครับ
จากที่คุณ Infinity Love ได้ถามไว้ระบบน่าจะเป็นแผง 55 วัตต์ ทำการต่ออนุกรม 3 แผงแล้วขนานกัน 7 ชุด รวมแผงทั้งหมด 21 แผง
ได้ไฟ 36V 24.15A ใช้คอนโทรลเลอร์ขนาด 36V, 30A ก็พอครับ จะเลือกแบบ PWM หรือ MPPT ก็ได้ครับแล้วแต่การใช้งานว่าใช้ไฟต่อวันมากขนาดไหน
ถ้าเลือกแบบ MPPT การชาร์จเข้าแบตจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นครับ
แล้วต้องใช้แบตเตอร์รี่ 12 v 30+ A 1 ก้อนได้ไหมครับ หรือต้องใช้ 3ก้อน ต่ออนุกรม ครับ
ต้องใช้ 12v 3ลูกต่ออนุกรมกัน ความจุถ้าเผื่อวันไม่มีแดด 0.5 วัน ใช้ 12v45Ah 3 ลูกครับ
คอนโทลชาร์จMPPT 36 โวลต์มีไหมครับ
มีครับ ลองเสิรช์ดูครับ 36V MPPT charge controller
ถ้า input 27V 20A ใชกับ คอนโทรลชาร์จ 12 V 20A ได้ไหมครับ
ถ้า 12V/24V ใช้ได้ครับแต่ถ้า 12V อย่างเดียวใช้ไม่ได้ครับ
แล้วชาร์จลงแบต 12V 20A 1ก้อนได้ไหมครับ
ถ้าชาร์จตรงไม่ได้ครับ เพราะกระแสชาร์จสูงกว่าความจุของตัวแบตเองเสียอีก จะทำให้แบตเสียเร็วมากครับ
ละถ้าinput 24 v. ตัวคอนโทรลชาร์จ 12v/24v 10A จะปล่อยไฟไปชาร์จเเบตเท่าไรคับ….?..v
ไม่เกิน 10 แอมป์ครับคุณ Natdanai
ผมมี แผง 120 poly ใช้คอนโทรลชาร์ 12/24. 20A. ชาร์ทลงแบต 12 V. 8 Ah. ได้ไหมครับ
ได้ครับคุณประดิษฐ์
คาดว่าถ้าไฟที่ชารจ์แรงสุดของแผง ชั่วโมงเดียวจะเต็ม. แต่ให้ดีควรจะใช้แบตลูกใหญ่กว่านี้หน่อย เพื่อพลังงานจะได้ไม่สูญเปล่า และแบตจะมีอายุการใช้งานที่นานขึ้นครับ
ลองหาบทความเก่าที่ผมเขียนไว้ใน fb อ่านดูครับมีเขียนเรื่องนี้ไว้เหมือนกันครับ
เครื่องควบคุมการชาร์จใช้กับไดนาโมกระแสตรงขนาด 140 โวลต์ 28 วัตต์ ที่จะต่อลงแบบขนาด 12 โวลต์ 60 Ah ได้ไหมครับ ถ้าได้ผมตรงซื้อเครื่องควบคุมการช่าร์จขนาดไหนอย่างไรครับ
น่าจะใช้charge controller(dc regulator)ที่ใช้กับไดนาโม ต้องดูสเปคของไดนาโมดูครับว่ากระแสและแรงดันไม่เกิน ชาร์จคอนโทรลที่เราจะไปต่อครับ
.
ลองหาในเน็ตคำว่า regulator ดูครับ ส่วนแหล่งรวมสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ก็ที่บ้านหม้อ คลองถมครับ
อยากทราบว่าตอนโซล่าเซลล์ทำงาน ทำไมโซล่าชาร์จเจอร์ถึงไม่จ่ายแรงดันไปยังโหลด ?
ถ้าโซล่าทำงานและมีแบตเตอรี่ก็น่าจะมีแรงดันจ่ายไปยังโหลดนะครับ ต้องขึ้นอยู่กับการต่อแรงดันขาเข้าชาร์จเจอร์ตรงกับขนาดที่รองรับหรือเปล่า
ใช้โซล่าชาร์เจอร์5Aแต่จะต่อแผง40wขนานกัน2แผงจะได้หรือเปล่าครับ
แผงโซล่าเซลล์มีกระแสลัดวงจรประมาณ 2.32 แอมป์ ถ้าต่อขนานสองแผงเท่ากับ 4.64 แอมป์ ซึ่งน้อยกว่า ชาร์จคอนโทรลเลอร์ 5 แอมป์
ใช้ได้ครับ
ขอบคุณครับ
คอลโทนชาร์จเจอร์แบบMPPTรับแรงดันจากแผง40w60vสำหรับชาร์จแบต24vมาชาร์จแบต12v100aได้หรือเปล่าครับ ผมสั่งมาผิดครับดูสเป็คกลับกัน
ต้องดูแรงดันขาออกจากเครื่องควบคุมการชาร์จว่าเป็นเท่าไร ถ้าเป็น 24 โวลท์ก็จำเป็นต้องใช้แบต 12 โวลท์อย่างน้อย 2 ลูกต่ออนุกรมกันครับคุณชัยพิชิต
เห็นในยูทูปร่นเดียวกับของผมเขาสามารถ
ปรับแรงดันขาออกเป็น13.6โวล์แต่เขาใช้แบต2ลูกต่อขนานไม่ได้ต่อแบบอนุกรม ก็ชาร์จได้ แต่ของผมลูกเดียวไม่แน่ใจว่าจะใช้
ได้หรือเปล่าครับ
ต้องดูที่สเปคเครื่องครับ ถ้าเป็น 12/24 V ก็สามารถใช้ได้ 12 โวลท์ หรือ 24 โวลท์ก็ได้ครับ
ขอบคุณครับ
สวัสดีครับ ผมมีแผง mono 300w 1 แผงแรงดันที่วัดได้จากแผง 35v ใช้กับcontrol changer TPS555-2430 จะสามารถชาร์จแบตเตอรรี่ 12v130ah 1 ก้อนได้หรือไม่ครับ
ไม่ได้ครับ ต้องแบต 12 โวลท์อย่างน้อยสองก้อน ต่ออนุกรมกันให้ได้แรงดัน 24 โวลท์ครับคุณนริศ
ขอบคุณครับ
แบตสองลูก 12 v.60 Amp ต่อขนานกันไว้เครื่องชาร์ท 12/24 v.แบบ MPPT 30 Amp
ควรใช้แผงขนาดกี่วัตต์จึงจะสมดุลย์กัน อนาคตจะใช้ออินเวสเตอร์ 1000 W ขอคำแนะนำด้วยครับ
ตอบคุณวิทย์ พีอีเอ
.
ใช้แผงขนาด 300 วัตต์ 3 แผง Vmp 36 V Isc 8.33 A ต่อขนานกัน ผลิตไฟได้ประมาณวันละ 3600 วัตต์ ครับ
ใช้ไฟฟ้า 1,000 w 8 hrs /day จะใช้แผง 300w 6 แผง จะเลือก charger , inverter ,battery
ชนิดไหนดีครับ (อยากต่อกับ grid เพื่อใช้ไฟฟ้า และชาร์ทแบตเวลาไม่มีแดดด้วยครับ)
ตอบคุณกันพล
.
ระบบ standalone
.
ใช้แผงโซล่าขนาด 300 วัตต์ 6 แผง
ขนาดแผงรวม 1.8 kwp
แผงแรงดัน Vmp 36 v ต่ออนุกรม 2 แผง ขนานกัน 4 ชุด
เลือกแรงดันระบบ 48 v
ผลิตไฟได้ประมาณ 7.2 หน่วยต่อวัน
.
เลือก batt deep cycle 200 Ah จำนวน 12 ลูก อนุกรมกัน 4 ลูกเพื่อให้แรงดัน 48 v ขนานกัน 3 ชุดเพื่อให้ได้กระแสรวม 600 Ah ที่เพียงพอต่อการใช้โหลดประมาณ 8 หน่วยต่อวัน ซึ่งรวมเผื่อวันที่ไม่มีแดดอีก 3 วันแล้ว
.
Charger ให้เลือกใช้แบบ MPPT ขนาด 60 Amp 48 V
.
Inverter ให้เลือกใช้ขนาด 2000 w 48 v
.
เรื่องต่อออนกริดจะต้องคำนวณอีกแบบโดยดูจากปริมาณกำลังไฟฟ้าสูงสุดที่ใช้ในตอนกลางวันเป็นหลัก เพราะถ้าออกแบบเกินขนาดจะทำให้ไฟฟ้าไหลเข้าไปในสายส่งของการไฟฟ้าฟรีๆครับ