Category Archives: SSK look at the world

โซล่าเซลล์ผลิตไฟตอนกลางคืน

โซล่าเซลล์ผลิตไฟตอนกลางคืน

แผงโซลาเซลล์กลางคืน เป็นหนึ่งในแผนการพัฒนานวัตกรรมด้านพลังงานที่ต้องการแก้ปัญหาพลังงานแสงอาทิตย์ โดยการผลิตพลังงานเมื่อพระอาทิตย์ตกดิน ซึ่งมีการค้นคว้าพัฒนามาตั้งแต่ปี 2020 จากกลุ่มนักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเดวิส สหรัฐอเมริกา

ศาสตราจารย์ Jeremy Munday เป็นผู้นำในการศึกษา และได้ตั้งชื่อแผงโซลาเซลล์ดังกล่าวว่า ‘Anti-Solar Cell’ โดยแผงโซลาเซลล์สามารถเก็บเกี่ยวกระแสไฟฟ้าจากท้องฟ้ายามค่ำคืน โดยการวิจัยที่ดำเนินการในปี 2022 พบว่าแผงโซลาร์เซลล์ในเวลากลางคืนเหล่านี้สามารถผลิตพลังงานเพียงพอสำหรับชาร์จโทรศัพท์มือถือ

ทั้งนี้ เคยมีการศึกษาพัฒนาแนวคิดแผงโซลาเซลล์กลางคืนมาก่อนได้ดำเนินการที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด โดยทีมวิจัยได้เพิ่มเครื่องกำเนิดเทอร์โมอิเล็กทริก ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สร้างกระแสจากความแตกต่างของอุณหภูมิ ลงในแผงโซลาร์เซลล์เหล่านี้โดยเฉพาะ

ผลลัพธ์เป็นที่เข้าใจกันว่าเซลล์แสงอาทิตย์ไม่ทำงานในเวลากลางคืน และมักต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ซึ่งมีผลต่อความสามารถในการผลิตพลังงาน แต่เซลล์แสงอาทิตย์กลางคืนโดยพื้นฐานแล้วทำงานในลักษณะเดียวกับเซลล์สุริยะในเวลากลางวัน แต่ในทางกลับกันทุกคืนความร้อนจะระบายออกจากโลกในรูปของรังสีอินฟราเรดเพื่อให้โลกมีอุณหภูมิคงที่

แถลงการณ์ที่โพสต์บนเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเดวิสเมื่อปีที่แล้ว Munday อธิบายว่า “ในอุปกรณ์ใหม่เหล่านี้ แสงจะถูกปล่อยออกมาแทน กระแสและแรงดันไฟฟ้าไปในทิศทางตรงกันข้าม แต่จะยังคงสร้างพลังงาน” โดยเซลล์แสงอาทิตย์กลางคืนสามารถสร้างพลังงานได้มากถึง 50 วัตต์ต่อตารางเมตร หนึ่งในสี่ของแผงทั่วไปที่สามารถผลิตได้ในเวลากลางวัน และทำงานในเวลากลางวันหากแสงถูกปิดกั้น

แนวคิดสำหรับแผงโซลาร์เซลล์ตอนกลางคืนมาจากวิธีปฏิบัติง่าย ๆ จากการที่มนุษย์ใช้เทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันเพื่อให้เกิดการระบายความร้อนในเวลากลางคืนเป็นเวลาหลายร้อยปี เช่น เมื่อคุณเปิดหน้าต่างและประตู หลังจากวันที่อากาศร้อนเพื่อทำให้บ้านของคุณเย็นลง เป็นทฤษฎีเดียวกัน โดยพื้นฐานแล้วรูปแบบของการระบายความร้อนนี้ใช้ท้องฟ้ายามค่ำคืนเป็นอ่างระบายความร้อนขนาดใหญ่ ซึ่งจะดึงความอบอุ่นออกจากโลกเมื่อมืด

ในปี 2021 โครงการของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดพบว่านักวิทยาศาสตร์พยายามใช้ความแตกต่างของอุณหภูมิกลางวันและกลางคืนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าในทำนองเดียวกัน โดยพิสูจน์ได้ว่าเทคโนโลยีใช้งานได้ แต่ยังมีหนทางอีกยาวไกลเมื่อพูดถึงเรื่องประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าในตอนกลางคืน อย่างไรก็ตามก็ถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีในการแก้ไขปัญหาที่แผงโซล่าเซลล์ผลิตไฟฟ้าไม่ได้เมื่อไม่มีแสงอาทิตย์

เซลล์แสงอาทิตย์ในตอนกลางคืนมีศักยภาพที่จะเป็นประโยชน์ เริ่มต้นจากสิ่งที่ต้องการใช้พลังงานต่ำ ๆ ก่อน ยังไม่สามารถจะนำมาใช้แทนที่โครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานที่มีอยู่ในปัจจุบัน เร็วๆนี้ได้

ข้อมูลอ้างอิง : euronews.green

วงการโซล่าเซลล์ในอนาคต

ขอแสดงความยินดีกับคนที่ทำงานในสายโซล่าเซลล์ด้วยนะครับ น่าจะมีงานทำไปยาวๆ จนถึงปี ค.ศ. 2050

ดูจากรูป โซล่าเซลล์ และ กังหันลม จะเป็น เทคโนโลยี หลักที่ทั่วโลก จะใช้ในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคพลังงานสะอาด

และในอนาคตเป็นคนจะเรียกพลังงานที่มาจากแสงอาทิตย์และลม ว่าเป็น “พลังงานหลัก” แทน ส่วนจะเรียกน้ำมัน ว่าเป็น “พลังงานสำรอง” ก็เป็นได้

Solar cell efficiency

อัพเดทล่าสุด Solar Cell Efficiency ประสิทธิภาพมากสุดคือแผงแบบไหน…ไปดูกัน

แผงโซลาร์เซลล์ Poly แบบธรรมดา Eff ประมาณ 16-17%

แผงโซลาร์เซลล์ Mono แบบธรรมดา Eff ประมาณ 17-19%

Shingled cell, Half-cut และ Multi-busbar ก็สามารถทำให้ Eff สูงขึ้นได้

อันดับสอง Heterojuction หรือเทคนิค การนำ Mono Crystalline cell ไปสอดตรงกลางระหว่าง Thin-film cell ก็จะได้ประสิทธิภาพที่สูงขึ้น

ส่วนที่ได้ประสิทธิภาพมากสุดคือ IBC (Interdigitated back contact) ได้สูงสุดถึง 23% เลยทีเดียว

ลองคิดดูเล่นๆ มนุษย์เรานี่ก็ก้าวมาไกลเหมือนกัน เราสามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์จาก 100% มาเป็นไฟฟ้าได้ถึง 1 ใน 4 เลยทีเดียว

ในอนาคตจะเป็นอย่างไรต่อไป เราต้องมาดูกัน

แบตเตอรี่ติดตั้งที่บ้านเราจะใช้โหมดไหนดี

หลายท่านคงทราบว่า ไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียนชนิดต่างๆ มีค่า output ที่ได้ไม่คงที่ เช่นโซลาร์เซลล์แสงมาก็มีไฟฟ้า แสงหมดก็ไม่มีไฟ.การที่เราใช้พลังงานได้ไม่ต่อเนื่องจะทำให้เกิดปัญหาได้.วันนี้อยากพูดถึงเรื่องแบตเตอรี่บ้าง

เพราะเป็นตัวเก็บกักพลังงาน ที่จะมาเติมเต็มพลังงานหมุนเวียนให้มีประสิทธิผลที่ดียิ่งขึ้น ในอนาคตอันใกล้นี้.วันนี้ พูดถึงแบตเตอรี่ที่ติดตั้งที่บ้าน แล้วกัน เพราะเป็นอะไรที่ใกล้ตัว

แบตที่เห็นในภาพคือ Powerwall จาก บริษัท Tesla รุ่นล่าสุด เรียนกว่า Powerwall + ซึ่งจะรวมอินเวอร์เตอร์ใส่เข้าไปในชุดแบตด้วย.แบตตัวนี้ขนาด 13.5 kWh หรือใช้ไฟได้ 13.5 หน่วย ถ้าหมดก็ชาร์จใหม่ได้.ทาง tesla รับประกันแบต 10 ปี แต่ใน spec เคลมว่า unlimited cycles เลย (ของเฮีย Elon Musk ต้องจัดเต็มไว้ก่อน)

ส่วนโหมดใช้งานมีอยู่ 3 โหมดด้วยกัน

1. ชาร์จจากโซลาร์เซลล์แล้วใช้ต่อวัน

2. ชาร์จจากโซลาร์หรือไฟบ้าน แล้วเลือกเวลาให้แบตจ่ายไฟฟ้าในช่วงเวลาที่กำหนด ส่วนใหญ่จะให้แบตจ่ายไฟในช่วงเวลาที่ค่าไฟฟ้าแพง (ในไทย หากบ้านใครใช้อัตราค่าไฟประเภทที่ 1.3 จะมีค่าไฟแพงในช่วง 0900-2200 จ-ศ)

3. ใช้แบตเพื่อสำรองไฟฟ้าในกรณีไฟดับ ไฟตก

การเลือกโหมดใช้งานก็ขึ้นอยู่กับเรา ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็จะเลือกโหมดปกติ ชาร์จจากโซลาร์แล้วใช้ต่อวัน

แต่ถ้าช่วยเซฟค่าไฟได้เยอะขึ้นก็ให้เลือกโหมด 2

ส่วนโหมด 3 ก็ใช้เพื่อ Backup แน่นอนอยู่แล้ว

ตอนนี้เราอาจจะไม่เห็นแบตในลักษณะนี้ติดตั้งตามบ้านมากนัก เพราะยังมีราคาที่สูงอยู่ แต่ Tesla บอกว่าราคา Powerwall จะเหลือแค่ครึ่งเดียวจากราคาปัจจุบันในอีก 3 ปีข้างหน้า

เมื่อถึงเวลานั้นเราอาจจะเห็น แบตเตอรี่ คล้ายๆกับ powerwall นี้ติดตั้งในบ้านพักอาศัยกันมากขึ้น

โซลาร์เซลล์กึ่งโปร่งแสง

จะดีแค่ไหน ถ้าเราปลูกพืชไปด้วยและได้ผลิตไฟฟ้าไปด้วย โดยไม่ต้องเสียพื้นท่ี

การทำฟาร์มเพาะปลูกโดยใช้โรงเรือนที่มุงด้วยวัสดุโปร่งใสที่เรียกกันว่า Greenhouse นั้นเป็นวิธีที่ให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูง อย่างไรก็ตามวิธีนี้ต้องมีค่าใช้จ่ายเป็นค่าไฟฟ้าสูงถึงราว 30% ของต้นทุนการดำเนินงาน แต่ผลวิจัยล่าสุดที่มหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนาสเตต (NCSU) เผยว่าสามารถตัดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ออกไปได้โดยการใช้โซลาร์เซลล์ชนิดใหม่ทำเป็นหลังคาของโรงเรือนเพื่อผลิตไฟฟ้าใช้เองโดยที่ไม่มีผลใดๆต่อสุขภาพและการเจริญเติบโตของพืช

แนวคิดในเรื่องนี้มาจากข้อเท็จจริงที่ว่าในการสังเคราะห์แสงของพืชพวกมันไม่ได้ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ทั้งหมดแต่ใช้เฉพาะบางความยาวคลื่นเท่านั้น ดังนั้นหากนำแสงอาทิตย์เฉพาะย่านความยาวคลื่นที่พืชไม่ได้ใช้ไปเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าและปล่อยให้ย่านแสงที่พืชต้องการลงไปให้พืชได้ใช้งานตามปกติก็จะเกิดประโยชน์เป็นทวีคูณ เพียงแต่จะต้องมีโซลาร์เซลล์ที่คุณสมบัติตามแนวคิดนี้

และคำตอบก็คือโซลาร์เซลล์สารอินทรีย์กึ่งโปร่งแสง (Semitransparent organic solar cells) หรือ โซลาร์เซลล์ ST-OSCs

“พืชใช้แสงบางช่วงความยาวคลื่นเท่านั้นในการสังเคราะห์แสงและแนวคิดก็คือการสร้างโรงเรือนเพาะปลูกที่สร้างพลังงานได้เองจากแสงที่ไม่ได้ใช้นั้นในขณะที่ปล่อยให้แสงที่พืชใช้สังเคราะห์แสงผ่านไปได้” Brendan O’Connor หนึ่งในทีมวิจัยกล่าว “เราสามารถทำได้สิ่งนี้โดยใช้โซลาร์เซลล์ชนิดสารอินทรีย์เพราะมันสามารถปรับสเปกตรัมของแสงที่ดูดซับได้ ดังนั้นเราสามารถเลือกเอาเฉพาะความยาวคลื่นที่พืชไม่ได้ใช้มาผลิตไฟฟ้า”

ทีมวิจัยพบว่าผักกาดหอมที่ปลูกภายใต้เซลล์แสงอาทิตย์มีสุขภาพและการเจริญเติบโตไม่แตกต่างจากผักกาดหอมที่ปลูกภายใต้แสงอาทิตย์โดยตรง พวกเขาไม่พบความแตกต่างในการวัดค่าสำคัญใดๆเลย รวมถึงสารต้านอนุมูลอิสระ, การดูดซึม CO2, ขนาด และน้ำหนัก และยังได้โบนัสเพิ่มจากการที่โซลาร์เซลล์ยังช่วยควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนได้เป็นอย่างดีอีกด้วย ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าแนวคิดในการนำโซลาร์เซลล์ชนิดโปร่งใสมาใช้กับโรงเรือนเพาะปลูกสามารถดำเนินการได้

แต่อย่างไรก็ตามโซลาร์เซลล์ ST-OSCs ยังมีประสิทธิภาพไม่สูงเทียบเท่ากับโซลาร์เซลล์แบบโฟโตโวลตาอิก (PV) ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน แต่นักวิจัยก็กำลังพยายามปรับปรุงประสิทธิภาพของมันอยู่ตลอดเวลา รวมไปถึงการประยุกต์ใช้งานที่หลากหลายของโซลาร์เซลล์ ST-OSCs ที่อาจจะได้พบเห็นในอนาคต เช่น ใช้ทำหน้าต่าง เป็นต้น

หรือนี่คือจุดเริ่มต้นการอวสานของสายส่งกำลังไฟฟ้า!!!

เมื่อปีที่ผ่านมา กองทัพอากาศสหรัฐส่งเครื่องบินอวกาศ X-37B ขึ้นไปโคจรรอบโลกเพื่อปฏิบัติภารกิจพิเศษหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือการทดลองศักยภาพของเทคโนโลยีใหม่ในการส่งพลังงานแสงอาทิตย์จากอวกาศกลับมายังโลกด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า PRAM (Photovoltaic Radio-frequency Antenna Module) และนี่อาจเป็นต้นแบบของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในอนาคต

การใช้พลังงานแสงอาทิตย์มิใช่แนวคิดใหม่สำหรับการประยุกต์ใช้ในอวกาศ แนวคิดนี้เริ่มมีมานานเป็นร้อยปีแล้วตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 และมันถูกใช้งานจริงเป็นครั้งแรกกับดาวเทียม Vanguard เมื่อปี 1958 นับแต่นั้นเป็นต้นมาแผงโซลาร์เซลล์ก็กลายเป็นอุปกรณ์ทั่วไปของยานอวกาศโดยส่วนใหญ่

แนวคิดใหม่จะมีการผลิตไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์ที่ติดอยู่บนยานอวกาศโคจรอยู่นอกโลกซึ่งได้รับแสงอาทิตย์ตลอดเวลา แล้วส่งพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ดังกล่าวกลับมายังพื้นโลก

แต่จะมีข้อจำกัดอย่างเดียวคือไม่สามารถทำสายส่งไฟฟ้าจากอวกาศมายังโลกได้ ดังนั้นทางเลือกหนึ่งในการแก้ปัญหาดังกล่าวคือเปลี่ยนพลังงานที่ได้จากโซลาร์เซลล์เป็นไมโครเวฟแล้วส่งมายังตัวรับบนผิวโลกเพื่อแปลงเป็นไฟฟ้าอีกทีหนึ่ง แนวคิดนี้มีมานานหลายทศวรรษแล้วแต่ยังคงอยู่แค่ในห้องทดลอง

“นี่เป็นการทดลองครั้งแรกในวงโคจรของอุปกรณ์ที่ถูกออกแบบมาเฉพาะสำหรับเป็นดาวเทียมผลิตไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ซึ่งอาจมีบทบาทในการปฏิวัติระบบพลังงานในอนาคตของเรา” Paul Jaffe นักวิจัยที่ห้องทดลอง US Naval Research Laboratory (NRL) ผู้ออกแบบ PRAM กล่าว

PRAM ประกอบด้วยแผงโซลาร์เซลล์ขนาด 30 x 30 ซม. พร้อมด้วยเครื่องส่งสัญญาณพลังงานไมโครเวฟ แนวคิดการนำไมโครเวฟมาใช้เพราะเป็นการส่งพลังงานผ่านชั้นบรรยากาศของโลก แต่หากเป็นเป้าหมายอื่นที่ไม่มีชั้นบรรยากาศอาจเลือกใช้เป็นเลเซอร์แทน เป้าหมายในการทดลองครั้งนี้คือการศึกษากระบวนการแปลงพลังงาน, ประสิทธิภาพเชิงความร้อน และประสิทธิภาพของเทคโนโลยี

หลังการทดลองครั้งนี้ในขั้นตอนต่อไปจะเป็นการสร้างระบบต้นแบบที่ทำงานได้อย่างสมบูรณ์ซึ่งติดตั้งในยานอวกาศเพื่อส่งพลังงานกลับสู่โลก แม้ว่าการเปลี่ยนเทคโนโลยีนี้ให้กลายเป็นแหล่งพลังงานเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่อาจอยู่ห่างออกไปหลายสิบปี แต่การใช้งานระยะสั้นอาจเป็นการส่งพลังงานไปยังพื้นที่ห่างไกล เช่น ฐานทัพทหารหรือพื้นที่ที่มีภัยพิบัติ เป็นต้น

และในอนาคตเมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้ามากขึ้น…สายส่งกำลังไฟฟ้าอาจจะไม่จำเป็นอีกต่อ

โซล่าแพนด้า

SSK Look at the world.

โซล่าแพนด้า….มาาแล้ววว

.

โซล่าฟาร์มที่จะทำเป็นรูปหมีแพนด้าขนาดยักษ์ในประเทศจีนขนาด 100 MW พัฒนาโดย บ.Panda green energy

.

ส่วนสีดำบนตัวแพนด้าสร้างจากโซล่าโมโน ส่วนสีขาวและสีอ่อนสร้างจากเซลล์ชนิดทินฟิลม์

.

โซล่าแพนด้า

ผู้ออกแบบให้เห็นเหตุผลที่สร้างเป็นรูปแพนด้า เนื่องจากความน่ารักของแพนด้าจะสามารถดึงดูดให้กลุ่มวัยรุ่นหันมาสนใจพลังงานสะอาดมากยิ่งขึ้น

.

แพนด้าตัวนี้ลดการปล่อยคาร์บอน 2.74 ล้านตันและผลิตไฟได้ 3.2 พันล้านหน่วย ถือว่าเป็นแพนด้าช่วยโลกตัวหนึ่ง

.

นอกจากนี้ก็ไม่ต้องป้อนไผ่

.

เพราะโซล่าแพนด้าตัวนี้ไม่กินไผ่แต่กินแสงเป็นอาหาร

.

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก inhabitat ครับ

หน้าต่างอัจฉริยะ

SSK look at the world.

หน้าต่างอัจฉริยะ (Smart window)

.

ในโลกทุกวันนี้อะไรก็ต้อง smart และแล้วก็ถึงคราวหน้าต่างกันบ้าง

.

มหาวิทยาลัยพรินซ์ตันผลิตพลังงานจากรังสี UV ที่ส่องกระทบหน้าต่างอัจฉริยะนี้

.

ซึ่งสามารถที่จะปรับแสงให้เข้มหรืออ่อนได้ตามต้องการ เพื่อลดแสงหรือความร้อนเข้าสู่อาคาร

.

เมื่อลดความร้อนได้ นั่นก็หมายความว่าเราจะใช้พลังงานจากเครื่องปรับอากาศน้อยลง

หน้าต่างอัจฉริยะ
หน้าต่างอัจฉริยะ

.

Smart window นี้คงจะเป็นหนึ่งในวัสดุที่น่าใช้สำหรับอาคารสมัยใหม่เป็นแน่

.

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก newatlas.com ครับ

ปริมาณการติดตั้งโซล่าเซลล์ในประเทศไทย2015

ปริมาณการติดตั้งโซล่าเซลล์รวมถึงปี2015ในประเทศไทย …จากรายงาน Thailand PV status 2015

15230590_555314824677352_209808793621854534_n

แผ่นมุงหลังคาโซล่าเซลล์

SSK Look at the world : จะดีแค่ไหนถ้าหลังคาบ้านเรา ผลิตไฟฟ้าได้

ตอนนี้มีนวัตกรรมโซล่าเซลล์ใหม่ที่ออกมาได้ซักพัก

นั่นคือแผ่นมุงหลังคาโซล่าเซลล์

solar-roof-tile

แผ่นนี้ติดโซล่าเซลล์สำหรับผลิตไฟฟ้าได้เลย และแต่ละแผ่นเป็นอิสระแยกออกจากกัน

ผลิตจากเทคโนโลยีทินฟิลม์ที่มีประสิทธิภาพสูง

ข้อดีของมันก็ของคือ ไม่ต้องกันวลเรื่อง เงามาตกกระทบตัวแผง

เพราะแต่ละแผ่นมุงหลังคานี้จะมี แทรคกิ้ง ของมันเอง

ทำให้ระบบโดยรวมผลิตไฟฟ้าได้กำลังสูงสุดเสมอ

ข้อดีอีกอย่างคือ สำหรับบ้านหลังใหม่ที่มีแผนที่จะติดตั้งโซล่าอยู่แล้ว ไม่ต้องซื้อกระเบื้องมุงหลังคาให้เป็นวัสดุซ้ำซ้อน

สามารถซื้อ แผ่นมุงหลังคาโซล่านี้ติดตั้งทีเดียวได้เลย เพื่อลดค่าใช้จ่ายโดยรวมลงได้อีก

นอกจากนี้บริษัทผู้ผลิตยังมีระบบ มอนิเตอร์ริ่ง เป็น แอพออนไลน์ให้เราดูการผลิตไฟฟ้าจากระบบโซล่าที่เราติดตั้งได้อีกด้วย

ส่วนข้อเสียก็คือ หลังคาบ้านเราจะเป็นสีน้ำเงินเท่านั้น

ถ้าใครชอบอยากได้หลังคาบ้านเป็นสีอื่น เช่นสีแดง

จะมีวิธีแก้ง่ายๆ ก็คือ หาสติ๊กเกอร์มาติดบนหลังคาว่า “บ้านนี้หลังคาสีแดง”

ขอบคุณรูปภาพจาก flexsolsolution.com ครับ